บทที่ 1 บทนำ
บทที่ 1 บทนำ
ความเป็นมาและความสำคัญ ปัจจุบันKahoot!เป็นแพลตฟอร์มการเรียนรู้ผ่านเกมแบบไม่มีค่าใช้จ่าย โดยใช้เป็นเทคโนโลยีการศึกษา เปิดตัวเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2556 ที่ประเทศนอร์เวย์ขณะนี้มีจำนวนผู้เล่นกว่า 50 ล้านคน[2] ใน 180 ประเทศ ด้วยความที่ถูกออกแบบให้เข้าถึงได้ในห้องเรียน และสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้แบบอื่น ๆ ทั่วโลก ทุกคนสามารถสร้างเกมทางการเรียนรู้ของคาฮูท! ได้เอง โดยปราศจากข้อจำกัดทางอายุหรือหัวข้อ คาฮูทสามารถเข้าถึงได้ผ่านอุปกรณ์หลากหลาย เช่น คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะหรือแบบพกพารวมไปถึงโทรศัพท์มือถือผ่านทางเว็บเบราว์เซอร์ ทำให้ได้รับความสนใจในห้องเรียนที่มีนโยบาย "นำอุปกรณ์ของคุณมาเอง"
ก่อนเปิดเทอม 1/2561 ได้เรียนรู้การใช้ Kahoot สำหรับการทดสอบผู้เรียนในการจัดการเรียนการสอน จาก ผศ.ดร.รินรดี ปาปะใน อาจารย์ในภาควิชาเดียวกัน ซึ่งเป็นวิธีการที่สามารถกระตุ้นให้ผู้เรียนรู้สึกตื่นตัว มีส่วนร่วมในการเรียนรู้เป็นอย่างมากมาย และในภาคเรียนเรียน 1/2561 นี้ข้าพเจ้าได้นำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน รายวิชาการวัดและประเมินผลทางการศึกษา ในระดับ ปริญญาตรี และการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ในระดับประกาศนียบัตร วิชาชีพครู ซึ่งโดยปกติหลังจากเรียนในแต่ละครั้งจะมีกาให้ผู้เรียนทำการทดสอบเพื่อวัดความเข้าใจบทเรียนจากการเรียนโดยทำในกระดาษ แล้วก็จะมีการเฉลยเพื่อให้ผู้เรียนได้ตรวจสอบความเข้าใจในบทเรียนของตนเอง แต่ในภาคเรียนนี้ข้าพเจ้า ได้ทดสอบความเข้าใจผู้เรียนโดยใช้กระดาษสลับมาตอบคำถามโดยใช้ Kahoot ซึ่งผู้เรียนทุกคนมีสมาร์ทโฟนอยู่แล้ว
ในการใช้ Kahoot สำหรับการทดสอบความเข้าใจบทเรียน ความเร็วของอินเทอร์เน็ตและรุ่นของสมาร์ทโฟน มีผลต่อการได้คะแนนเมื่อมีการทดสอบโดยใช้ Kahoot ก่อนการ ทดสอบและแบ่งกลุ่มผู้เรียนในการปฏิบัติงาน เมื่อมีการทดสอบก็จะใช้คะแนนเฉลี่ยของกลุ่มเป็นคะแนนของแต่ละคน เผื่อไว้ว่าระหว่างทดสอบผู้เรียนบางคนจะมีปัญหาในการใช้อินเทอร์เน็ตหรือในการใช้สมาร์ทโฟน ก็จะสามารถนับคะแนนเฉลี่ยของเพื่อนในกลุ่มมาเป็นคะแนนตนเองได้ (ในกลุ่มมีคะแนนกี่คนก็จะเฉลี่ยเท่านั้น) อีกเหตุผลในการใช้คะแนนเฉลี่ยกลุ่มเพื่อให้สมาชิกในกลุ่มช่วยกระตุ้นการเรียนรู้ของเพื่อนๆ
ในกลุ่มด้วย ทำให้สมาชิกในกลุ่มร่วมมือกันเรียนรู้มากขึ้นผลของการใช้ Kahoot ในการทดสอบความเข้าใจบทเรียนของผู้เรียน ทำให้เกิดบรรยากาศสนุกสนาน กระตุ้นอยากเรียนรู้ของผู้เรียนมากขึ้น ส่วนข้อเสียคงเป็นเรื่องเสียงดังรบกวนห้องข้างๆและการใช้งาน Kahoot มีหลายส่วนที่ข้าพเจ้าจะต้องเรียนรู้แล้วน ามาใช้ในการจัดการเรียนการสอนต่อไป หลักการทำโครงงาน หมายถึง กิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ศึกษา ค้นคว้าและลงมือปฏิบัติด้วยตนเองตามความสามารถ ความถนัด และความสนใจ โดยอาศัยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ หรือกระบวนการอื่นใดไปใช้ในการศึกษาหาคำตอบในเรื่องนั้นๆ โดยมีครูผู้สอนคอยกระตุ้นแนะนำและให้คำปรึกษาแก่ผู้เรียนอย่างใกล้ชิด ตั้งแต่การเลือกหัวข้อที่จะศึกษา ค้นคว้า ดำเนินการ วางแผน กำหนดขั้นตอนการดำเนินงาน โดยทั่วๆ ไป การทำโครงงานสามารถทำได้ทุกระดับการศึกษา ซึ่งอาจทำเป็นรายบุคคลหรือเป็นกลุ่มก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ ลักษณะของโครงงาน อาจเป็นโครงงานเล็กๆ ที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อนหรือเป็นโครงงานใหญ่ที่มีความยากและซับซ้อนขึ้นก็ได้ Kahoot หมายถึงโปรแกรมที่สามารถเล่นเกมแข่งขันทำแบบทดสอบผ่านทาง เว็บไซต์จากคอมพิวเตอร์ หรือ แอพพลิเคชั่นจากแอนดรอยด์ การเปรียบเทียบผลการสอบ หมายถึง ผลจากการท าแบบทดสอบด้วยโปรแกรม Kahoot! กับผลการทำแบบทดสอบด้วยวิธีปกติ
วัตถุประสงค์
1.เพื่อทำให้การสอนของครูในชั้นเรียนมีความน่าตื่นเต้น
2.เพื่อให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการเรียนการสอน
3.เพื่อให้นักเรียนมีความเข้าใจในเนื้อหาวิชาเรียน
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1.ทำให้การสอนของครูอาจารย์ในชั้นเรียนมีความน่าตื่นเต้น
2.ทำให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการเรียนการสอน
3. นักเรียนมีความเข้าใจในเนื้อหาวิชาเรียน
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น